บทที่ 11

การอัพโหลดไฟล์สู่เว็บไซต์

 

1.ตรวจสอบไฟล์ให้พร้อมก่อนอัพโหลด

      ก่อนที่จะอัพโหลดเว็บไซต์ขึ้นสู่อินเทอร์เน็ตต้องตรวจสอบไฟล์ต่าง ๆ ให้แน่ใจก่อนว่า เว็บไซต์ไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นขนาดของไฟล์เว็บเพจ ลิงค์เชื่อมโยงระหว่างเว็บเพจกับไฟล์หรือเว็บไซต์อื่น ๆ และกำจัดแท็กส่วนเกิน
การสร้างเว็บไซต์เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วจะต้องอัพโหลด (Upload) ข้อมูลทั้งหมดเข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยนำไปฝากหรือเก็บไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเผยแพร่ไปสู่สาธารณะชน ขณะที่ข้อมูลถูกเผยแพร่อยู่นั้น ผู้ดูแลหรือเจ้าของเว็บไซต์สามารถปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงเนื้อหาหรืออัพเดตข้อมูลใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา การอัพโหลดเว็บไซต์มีขั้นตอนสำคัญ 3ขั้นตอนคือ
    การจดทะเบียนโดเมนเนม (Domain Name)

    โดเมนเนม (Domain Name) หรือที่เข้าใจกัน คือ ชื่อเรียกเว็บไซต์นั่นเอง การจดทะเบียนโดเมนเนมจึงเป็นการลงทะเบียนชื่อให้กับเว็บไซต์ของเราในโลกของ อินเตอร์เน็ตโดยโดเมนเนมที่ขอจดทะเบียนจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น และควรตั้งชื่อให้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ ตลอดจนใช้คำง่าย ๆ ให้จำได้ เช่น Sanook.com, Bangkok.com, Cnn.com เป็นต้น

    อัตราค่าบริการจดทะเบียนโดเมนเนม

    ปัจจุบันมีโดเมนเนมทั่วโลกมากกว่า 400 ล้านชื่อ ผู้ขอจดทะเบียนใหม่จะต้องตรวจสอบว่าโดเมนเนมที่ตั้งไว้นั้นซ้ำกับคนอื่นหรือ ไม่ โดยติดต่อผ่านผู้ให้บริการจดทะเบียนโดยเข้าไปค้นหาได้จาก google.com โดยพิมพ์คำว่า จดทะเบียนโดเมนเนม ก็จะพบรายชื่อผู้ให้บริการจำนวนมาก

    อัตราค่าจดทะเบียนโดเมนเนมนั้นขึ้นอยู่กับนามสกุลโดเมนเนมหลัก ตัวอย่าง เช่น

การตรวจสอบรายชื่อโดเมนเนม

    หลังจากเลือกชื่อโดเมนเนมได้แล้ว (ควรเตรียมไว้หลาย ๆ ชื่อ) จะต้องตรวจสอบกับผู้รับจดทะเบียนว่า โดเมนเนมนั้นมีใช้แล้วหรือไม่ ถ้ามีผู้จดแล้วจะต้องเปลี่ยนชื่อใหม่

แต่ถ้าโดเมนเนมนั้นยังว่างอยู่ จะมีข้อความบอกให้ลงทะเบียนได้ สามารถกรอกรายละเอียดและส่งกลับไปลงทะเบียนได้ทันที

 

2.การจัดหาพื้นที่สำหรับเก็บเว็บไซต์บนเซิร์ฟเวอร์

    หลังจากได้จดโดเมนเนมแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องจัดหาพื้นที่อินเตอร์เน็ต หรือเว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) ผู้ให้บริการเช่าพื้นที่อินเตอร์เน็ตจะจัดเตรียมเครื่องเซิร์ฟเวอร์

ที่มีประสิทธิภาพสูงไว้แบ่งให้บุคคลอื่นเช่า โดยจะคิดค่าบริการเป็นรายปี หรือแบบอื่นๆ ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งของไทยก็มีจำนวนมาก เช่น Thaisite.net, Siaminterhost.com, 

Pora.com, NetDesignhost.com, ThaiEasyHost.com ฯลฯ ผู้ให้บริการพื้นที่โฮสติ้งจะคิดค่าบริการเป็นรายปี ขึ้นอยู่กับคุณภาพเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และคุณสมบัติด้านซอฟต์แวร์               

    ที่ให้บริการทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ ถ้าพื้นที่มาก เช่น 200 Mb. 500 Mb. 1 Gb. และ 2 Gb. ค่าบริการก็จะต้องสูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับผู้เริ่มต้นมีเว็บไซต์ของตนเอง             

สามารถขอพื้นที่โฮสต์ฟรี ซึ่งมีอยู่มากมาย เช่น    www.thai.net,    www.tripod.lycos.com,    www.web.thaicool.com,    www.codfreehost.com,    www.thaitopsite.com,         

www.freeserver.com

 

3.วิธีพิจารณาเว็บเซิร์ฟเวอร์หลัก

พื้นที่เก็บข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัย คุณสมบัติด้านโปรแกรมเสริม คุณสมบัติด้านอีเมล์  ซึ่งมีให้ท่านเลือกมากมายตามแต่ละ Plan ของบริษัทไป ซึ่งต้องพิจาณาตามความ

เหมาะสมของการใช้งานของเรา

เมื่อคัดเลือกผู้ให้บริการพื้นที่โฮสต์ได้แล้ว การสมัครสมาชิกให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของโฮสต์ นั้น ๆ จนกระทั่งเราได้ชื่อ (Username) และรหัสผ่าน (Password) เมื่อเข้าใช้พื้นที่   

เซิร์ฟเวอร์ของโฮสต์นั้น ๆ

    วิธีการอัพโหลดเว็บไซต์

    การอัพโหลดเว็บไซต์ขึ้นสู่เซิร์ฟเวอร์ เปิดโปรแกรม Dreamweaver (อาจใช้โปรแกรมสำหรับอัพโหลดโดยตรง เช่น CuteFTP, FTP Voyager ก็ได้) และเรียกไฟล์ index.html ขึ้นมา

        1.  คลิกที่คำสั่ง Site >> Manage Sites จะได้หน้าต่าง Manages Sites

        2.  คลิกที่ชื่อเว็บไซต์ที่จะอัพโหลด

3.  คลิกที่แท็บ Advanced เลือก Remote Info แล้วเลือก Access เป็น FTP กำหนด FTP host เป็น

4.  ใส่ Login และ Password ตามที่เราได้ลงทะเบียนไว้แล้ว คลิกปุ่ม Test เพื่อทดสอบการต่อเชื่อมกับเซิร์ฟเวอร์

5.  เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK

6.  คลิกที่ปุ่ม Put file  เพื่อเลือกไฟล์จาก Local files ไปไว้ที่ Remote Site จะแสดงสถานะการอัพโหลดไฟล์

7.  ยกเลิกการเชื่อมต่อ  โดยคลิกที่ปุ่มตัดการเชื่อมต่อ และสิ้นสุดการอัพโหลด

8.  เมื่ออัพโหลดข้อมูลเสร็จแล้วก็สามารถเปิดใช้เว็บไซต์ได้เหมือนเว็บไซต์อื่น ๆ การปรับปรุงเว็บไซต์ครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องอัพโหลดทุกไฟล์ เลือกเฉพาะไฟล์                           

ที่มีการปรับปรุงเท่านั้น

 

Free Web Hosting