บทที่ 7

การสร้างเฟรมเซต

 

1.การสร้างเฟรมเซต

เฟรมเซต (Frameset)  คือ  การแบ่งหน้าเว็บเพจออกเป็นพื้นที่หลาย ๆ ส่วน  โดยแต่ละส่วนแยกออกไปจะเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน  ตามปกตินิยมใช้เฟรมเพื่อแบ่งเนื้อหาบนหน้าจอ   

เป็น กลุ่มเพื่อใช้แสดงหรือเปรียบเทียบข้อมูลเฟรมจะมี  2  รูปแบบ  คือ  เฟรมหลัก (Frameset)  และเฟรมย่อย (Frame)                                                                                               

เฟรมหลัก (Frameset)  คือ  หน้าต่างเฟรมใหญ่ที่สุด  ทำหน้าที่คอยควบคุมเฟรมย่อยอีกทีหนึ่ง  โดยกำหนดว่าในแต่ละส่วนชื่ออะไร  มีขนาดและคุณสมบัติอย่างไร  เริ่มต้นที่ตำแหน่งใด  เป็นต้น

เฟรมย่อย (Frame) หน้าต่างเฟรมที่ทำหน้าที่กำหนดชื่อของแต่ละเฟรม  และกำหนดไฟล์เว็บเพจภายในเฟรมได้

    การสร้างเฟรมเซตในโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS5 สามารถทำได้ 2 วิธี มีขั้นตอนดังนี้

       1.  การใช้แบบสำเร็จ เป็นเฟรมเซตที่โปรแกรมได้ออกแบบไว้เป็นแบบสำเร็จรูป สามารถเลือกใช้ได้ง่าย ๆ  จะมีรูปแบบเฟรมเซตให้เลือกตามต้องการ

        1.  คลิกเมนู File
        2.  เลือก New หรือกดปุ่ม Ctrl+N
        3.  จะปรากฏหน้าต่าง New Document เลือก Page from Sample
        4.  ในส่วนของ Sample Folder เลือก Frameset
        5.  ในส่วนของ Sample Page จะมีตัวเลือกของรูปแบบเฟรมให้เลือกตามต้องการ

6.  คลิกปุ่ม Create จะปรากฏหน้าต่างให้เลือกตั้งชื่อเฟรม

7.  จะได้ รูปแบบเฟรมตามที่เลือก

 

2.  การออกแบบเฟรมเซตเอง เป็นการจัดรูปแบบเฟรมเซตตามที่ต้องการ

        1.  คลิกที่ Visual Aids ดังรูป
        2.  เลือก Frame Borders

      3.  ที่เว็บเพจจะปรากฏเส้นขอบของเฟรมเซตขึ้นมา เลื่อนเมาส์ไปที่เส้นขอบของเฟรมเซต คลิกและลากเมาส์เพื่อสร้างเฟรมเซต ถ้าต้องการจะดูรายละเอียดของเฟรมทั้งหมดให้เลือกคำสั่ง Window > Frames เพื่อเรียกพาเนล Frames

 

2.การจัดการกับเฟรมเซต

    หลังจากที่สร้างเฟรมเซตไว้เรียบร้อยแล้ว หากยังไม่ตรงตามที่ต้องการก็สามารถจัดการกับเฟรมเซตได้ดังนี้

    การปรับขนาดเฟรม           ถ้าเฟรมมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไปสามารถปรับขนาดย่อหรือขยายได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนโดยคลิกที่เส้นของเฟรมและลากเมาส์

 

การเพิ่มเฟรม  

ถ้าเฟรมมีจำนวนไม่เพียงพอสามารถเพิ่มจำนวนได้

โดยเลือกคำสั่ง Modify > Frames set แล้วเลือกลักษณะการแบ่งเฟรมเซต  4  ลักษณะ คือ ซ้าย ขวา บน และล่าง              

ถ้าเพิ่มเฟรมด้วยเส้นขอบเฟรมให้กดแป้น Alt กับลากเมาส์ที่เส้นขอเฟรม

 

3.การแก้ไขรายละเอียดเฟรม

    เฟรมแต่ละเฟรมเป็นไฟล์ย่อย ๆ  หนึ่งไฟล์  การแก้ไขรายละเอียดภายในเฟรมทำได้ 2  ลักษณะ  คือ  เฟรมหลัก  และเฟรมย่อย

    การแก้ไขเฟรมหลัก

        คลิกเลือกเฟรมหลัก  ถ้ามีหลายเฟรมและไม่แน่ใจว่าเฟรมใดเป็นเฟรมหลัก  ให้เปิดพาเนล  Frames  และคลิกเลือกเฟรมหลัก

เลือกปรับรายละเอียดของเฟรมหลักที่  Properties Inspector

Borders                   กำหนดให้แสดงหรือไม่แสดงเส้นขอบ
Borders Width         กำหนดความกว้างของเส้นขอบเฟรม  ค่า  0  ไม่มีเส้น
Border Color            กำหนดสีของเส้นขอบเฟรม
Column                    กำหนดขนาดของคอลัมน์  เติมตัวเลขลงไปในช่อง  Value  และเลือกหน่วยวัด  เช่น  pixels
Row Col Selection   โครงสร้างของเฟรมเซต

    การแก้ไขเฟรมย่อย

        เฟรมย่อยเป็นเฟรมทุกเฟรมที่บรรจุในเฟรมหลัก  มีชื่อเรียกต่าง ๆ  กัน  เช่น  topframe  mainframe  ฯลฯ  ซึ่งสามารถแก้ไขรายละเอียดได้  ดังนี้

 แก้ไขรายละเอียดเฟรมที่  Properties Inspector  ดังนี้                                                                                                                                

 Frame name      ตั้งชื่อเฟรมย่อย  ควรตั้งให้สื่อถึงเฟรมหลัก                                                                                                                                                                                                              

 Src                     ตำแหน่งที่ใช้บันทึกเว็บเพจของเฟรมนี้                                                                                                                                                                                                                   

 Borders              แสดง / ซ่อน  เส้นขอบ                                                                                                                                                                                                                                        

 Scroll                  แสดง / ซ่อน  แถบเลื่อนของเฟรมย่อย                                                                                                                                                                                                                    

 No resize            กำหนดให้ใช้เมาส์ลากเพื่อปรับขนาดเฟรมได้ หรือไม่ได้                                                                                                                                                                                         

 Border color       กำหนดสีของเฟรม                                                                                                                                                                                                                                            

 Margin width      กำหนดระยะห่างของเฟรมย่อยกับเฟรมหลัก  (กว้าง)      

 Margin height     กำหนดระยะห่างของเฟรมย่อยกับเฟรมหลัก (สูง)

 

4.การสร้างเนื้อหาในเฟรม

    เฟรมเซตเปรียบเสมือนไฟล์งานหรือเว็บเพจแต่ละหน้าที่ซ้อนกันอยู่ในหน้าเว็บเพจเดียวกันดังนั้นการสร้างเนื้อหาหรือออกแบบแต่ละเฟรมจึงเป็นอิสระจากกัน   

สามารถพิมพ์ข้อความ  แทรกภาพ  ตาราง  และตกแต่งเฟรมได้โดยไม่กระทบต่อเฟรมอื่น

        การใส่เนื้อหาในเฟรมแบ่งออกเป็น  2  ลักษณะ  คือ  สร้างเนื้อหาลงในเฟรมใหม่  และนำเนื้อหาที่สร้างไว้แล้วมาใส่เฟรม  ดังนี้

    สร้างเนื้อหาลงในเฟรมเซตใหม่

        เมื่อได้เลือกเฟรมเซตหรือสร้างเฟรมเซตเสร็จแล้ว  เช่น  แบบ Fixed Top, Nested Left  โดยกำหนดให้  Topframe  เป็นส่วนหัวของบริษัท  ประกอบด้วยชื่อและโลโก้

ส่วน  Mainframe  เป็นเนื้อหา  รายละเอียดสินค้า  และส่วนด้านซ้ายเป็นลิงค์ต่าง ๆ  จะได้เว็บเพจลักษณะดังนี้

นำเนื้อหาที่สร้างไว้ใส่เฟรมเซต

        เป็นการสร้างเนื้อหาย่อยแต่ละเฟรมก่อน  แล้วจึงนำมาประกอบเว็บเพจภายหลัง  มีวิธีทำ  ดังนี้

        1.  สร้างเฟรมงานต่าง ๆ  ไว้จนครบ  แล้วบันทึกข้อมูล

 2.  สร้างเฟรมเซตตามจำนวนเฟรม  แล้วกดแป้น  < Shift > + < F2 >  เพื่อเรียกพาเนล  Frames                                                                                                                                                             

3.  คลิกที่ไอคอน   ในช่อง  Src  จะได้หน้าต่าง  Select HTML file  เลือกเฟรมเซตที่ต้องการ    

4.ทดลองแสดงผลเฟรมเซตตามที่ออกแบบไว้บนเบราว์เซอร์


5.การบันทึกเฟรม

    การบันทึกเฟรมหลักและเฟรมย่อยมีข้อแตกต่างกัน ดังนี้

    การบันทึกเฟรมหลัก

    ในการบันทึกเฟรมหลัก (Frameset) มีขั้นตอนดังนี้

        1.  คลิกที่โครงเฟรมหลัก ในหน้าต่าง Frame Panel

2. คลิกเมนู File >> Save Frameset หรือกดปุ่ม < Ctrl + S > เพื่อบันทึกโครงเฟรม
3. เลือกสถานที่เก็บไฟล์จากช่อง Save in
4. พิมพ์ชื่อไฟล์ลงในช่อง File Name
5. คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกเฟรม

การบันทึกเฟรมย่อย

    การบันทึกเฟรมย่อย มีขั้นตอนดังนี้

1. คลิกที่โครงเฟรมย่อย ในหน้าต่าง Frame Panel
2. คลิกเมนู File >> Save Frame หรือกดปุ่ม < Ctrl + S > เพื่อบันทึกโครงเฟรม

 3. ลือกสถานที่เก็บไฟล์จากช่อง Save in
 4. พิมพ์ชื่อไฟล์ลงในช่อง File Name
 5. คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกเฟรม

 

 6.การเชื่อมโยงเฟรมเซต

    การเชื่อมโยงเฟรมเซตมีประโยชน์มาก เพราะช่วยเลื่อนหน้าเว็บเพจให้แสดงผลข้อมูลได้ง่าย เช่น คลิกที่แท็บสินค้าใหม่ เฟรมเซตด้านขวามือจะแสดงผลสินค้าใหม่ให้ทันที  

โดยมีวิธีการเชื่อมโยง ดังนี้

1.  เลือกข้อความที่ต้องการจะสร้างลิงค์                                                                                                                                                                                                                                             

2.  คลิกปุ่ม  ในช่อง Link ของ Properties Inspector

3.  เลือกเฟรมที่ต้องการจะเป็นเป้าหมายการลิงค์ แล้วคลิก OK
4.  กำหนดคุณสมบัติการแสดงผลจากช่อง Target เช่น เลือก Mainframe เพื่อให้ไฟล์ลิงค์ไว้มาแทรกแทนเฟรม Mainframe


5. บันทึกไฟล์ และทดลองแสดงผลด้วยเบราเซอร์ < F12 >


Free Web Hosting